วันศุกร์ที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2556

ประเพณีลอยกระทง


ประวัติความเป็นมาประเพณีลอยกระทง


     อ้างอิง:http://www.youtube.com/watch?v=IhvEz1dwHmE
   
ลอยกระทง (Loi Krathong Day) เป็นประเพณีของไทยที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาแต่โบราณ งานลอยกระทงเริ่มทำตั้งแต่ กลางเดือน 11 ถึงกลางเดือน 12 ซึ่งเป็นฤดูน้ำหลาก น้ำจะเต็มสองฝั่งแม่น้ำ ที่นิยมมากคือ ช่วงวันเพ็ญเดือน 12 เพราะพระจันทร์เต็มดวง ทำให้แม่น้ำใสสะอาด แสงจันทร์ส่องเวลากลางคืน เป็นบรรยากาศที่สวยงาม เหมาะแก่การลอยกระทง
      เดิมพิธีลอยกระทงเรียกว่า พระราชพิธีจองเปรียงชักโคมลอยโคม ซึ่งเป็นพิธีของพราหมณ์ เพื่อบูชาพระเป็นเจ้าทั้งสาม คือ พระอิศวร พระนารายณ์ และพระพรหม ครั้นคนไทยรับนับถือพระพุทธศาสนา ก็ทำพิธียกโคมเพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณี ณ สวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ลอยโคมบูชาพระพุทธบาท ณ หาดทรายแม่น้ำนัมมทานที ประเทศอินเดีย
      การลอยกระทง ตามสายน้ำนี้ นางนพมาศ สนมเอกของพระร่วงเจ้ากรุงสุโขทัย คิดทำกระทงรูปดอกบัว และรูปต่างๆถวาย พระร่วงทรงให้ลอยกระทงตามสายน้ำไหล ในหนังสือ ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์ พระร่วงตรัสว่า "แต่นี่สืบไปเบื้องหน้า โดยลำดับกษัตริย์ในสยามประเทศ ถึงกาลกำหนดนักขัตฤกษ์วันเพ็ญเดือน 12 ให้ทำโคมลอย เป็นรูปดอกบัวอุทิศสักการบูชาพระพุทธบาทนัมฆทานที ตราบเท่ากัลปาวสาน"
     ครั้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ มีการทำกระทงขนาดใหญ่และสวยงาม ดังพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ของเจ้าพระยาทิพาราชวงศ์ กล่าวไว้ว่า
     "ครั้นมาถึงเดือน 12 ขึ้น 14 ค่ำ 15 ค่ำ แรมค่ำหนึ่งพิธีจองเปรียงนั้น เดิมได้โปรดให้ขอแรง พระบรมวงศานุวงศ์ฝ่ายหน้า ฝ่ายใน และข้าราชการที่มีกำลังพาหนะมาทำกระทงใหญ่ ผู้ถูกเกณฑ์ต่อเป็นถังบ้าง ทำเป็นแพหยวกบ้าง กว้าง 8 ศอกบ้าง 9 ศอกบ้าง กระทงสูงตลอดยอด 10 ศอก 11 ศอก ทำประกวดประขันกันต่างๆ ทำอย่างเขาพระสุเมรุทวีปทั้ง 4 บ้าง และทำเป็นกระจาดชั้นๆบ้าง วิจิตรไปด้วยเครื่องสด คนทำก็นับร้อย คิดในการลงทุนทำกระทงทั้งค่าเลี้ยงคนและพระช่าง เบ็ดเสร็จก็ถึง 20 ชั่งบ้าง ย่อมกว่า 20 ชั่งบ้าง"
      ปัจจุบันประเพณีลอยกระทง มีการจัดงานกันแทบทุกจังหวัด ถือเป็นงานประจำปีที่สำคัญ โดยเฉพาะ ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีการจัดขบวนแห่กระทงใหญ่ กระทงเล็ก มีการประกวดกระทง และประกวดธิดางามประจำกระทงด้วย
      ส่วนการลอยโคม ชาวบ้านทางภาคเหนือและภาคอีสานยังนิยมทำกัน ชาวบ้านจะนำกระดาษ มาทำเป็นโคมขนาดใหญ่สีต่างๆ ถ้าลอยตอนกลางวัน จะทำให้โคมลอยโดยใช้ควันไฟ ถ้าเป็นเวลากลางคืน ก็จะใช้คบจุด ที่ปากโคม ให้ควันพุ่งเข้าในโคม ทำให้ลอยไปตามกระแสลมหนาว เวลากลางคืนแลเห็นแสงไฟโคม บนท้องฟ้า พร้อมกับแสงจันทร์และดวงดาวสวยงามมากทีเดียว


เรื่องน่ารู้ใน วันลอยกระทง
คติที่มาเกี่ยวกับวันลอยกระทงมีอยู่หลายตำนาน ดังนี้ 
        1. การลอยกระทง เพื่อขอขมาแก่พระแม่คงคา
        2. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระผู้เป็นเจ้าตามคติพราหมณ์ คือบูชาพระนารายณ์ซึ่งบรรทมสินธุ์อยู่ในมหาสมุทร
        3. การลอยกระทง เพื่อต้อนรับพระพุทธเจ้า ในวันเสด็จกลับจากเทวโลก เมื่อครั้งเสด็จไปจำพรรษาอยู่บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ เพื่อทรงเทศนาอภิธรรมโปรดพระพุทธมารดา
        4. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระพุทธบาท ของพระพุทธเจ้า ที่หาดทรายริมแม่น้ำนัมมทานที เมื่อคราวเสด็จไปแสดงธรรมโปรดในนาคพิภพ
        5. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระจุฬามณีบนสวรรค์ ซึ่งเป็นที่บรรจุพระเกศาของพระพุทธเจ้า
        6. การลอยกระทง เพื่อบูชาท้าวพกาพรหม บนสวรรค์ชั้นพรหมโลก
        7. การลอยกระทง เพื่อบูชาพระอุปคุตตะเถระ ซึ่งบำเพ็ญเพียรบริกรรมคาถาอยู่ในท้องทะเลลึกหรือสะดือทะเล ประวัติการลอยกระทงในเมืองไทย 
 การลอยกระทงในเมืองไทย 
       มีมาตั้งแต่ครั้งสุโขทัย เรียกว่า การลอยพระประทีป หรือลอยโคม เป็นงานนักขัตฤกษ์รื่นเริงของประชาชนทั่วไป ต่อมานางนพมาศหรือท้าวศรีจุฬาลักษณ์สนมเอกของพระร่วง ได้คิดประดิษฐ์ดัดแปลงเป็นรูปกระทงดอกบัวแทนการลอยโคม การลอยกระทงหรือลอยโคมในสมัยนางนพมาศ กระทำเพื่อเป็นการสักการะรอยพระพุทธบาทที่แม่น้ำนัมมทานที ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหนึ่งอยู่ในแคว้นทักขิณาบถของประเทศอินเดีย ปัจจุบันเรียกว่า แม่น้ำเนรพุททา
      อ้างอิง: http://www.youtube.com/watch?v=lJuQ6ZxO7kA


      การลอยกระทงในปัจจุบัน 

การลอยกระทงในปัจจุบัน ยังคงรักษารูปแบบเดิมเอาไว้ได้ตามสมควร เมื่อถึงวันเพ็ญพระจันทร์เต็มดวงในเดือน 12 ชาวบ้านจะจัดเตรียมทำกระทงจากวัสดุที่หาง่ายตามธรรมชาติ เช่น หยวกกล้วยและดอกบัว นำมาประดิษฐ์เป็นกระทงสวยงาม ปักธูปเทียนและดอกไม้เครื่องสักการบูชา ก่อนทำการลอยในแม่น้ำก็จะอธิษฐานในสิ่งที่มุ่งหวัง พร้อมขอขมาต่อพระแม่คงคา ตามคุ้มวัดหรือสถานที่จัดงานหลายแห่ง มีการประกวดกระทง ประกวดนางนพมาศ และมีมหรสพสมโภชในตอนกลางคืน นอกจากนั้นยังมีการจุดดอกไม้ไฟ พลุ ตะไล ซึ่งในการเล่นต้องระมัดระวังเป็นพิเศษ วัสดุที่นำมาใช้กระทง ควรเป็นของที่สามารถย่อยสลายได้ง่ายตามธรรมชาติ 




ประเพณีแห่นางแมว อ้อนวอนขอฝน

        การแห่นางแมวเป็นพิธีอ้อนวอนขอฝน ซึ่งจำจัดทำขึ้นในปีใดที่ท้องถิ่นแห่งแล้งฝน ไม่ตกต้องตามฤดูกาล สาเหตุที่ฝนไม่ตก ท่านผู้รู้กล่าวไว้ว่า น้ำฝนนั้นเป็นน้ำของเทวดา ดังมีศัพท์บาลีว่า เทโว ซึ่งแปลว่า น้ำฝน เป็นเอกลักษณ์ของความดี ความบริสุทธิ์ สิ่งแวดล้อมเป็นพิษมากๆ ควัน และละอองเขม่าน้ำมัน ห่อหุ้มโลกทำให้เป็นภัยแก่มนุษย์ ผู้ที่จะล้างอากาศได้ทำให้ละอองพิษพวกนั้นตกลงดิน ทำให้อากาศสะอาดคือ "เทโว" หรือ "ฝน" นั่นเอง ดังจะเห็นได้จากเมื่อฝนหยุดตกใหม่ๆ อากาศจะสดชื่น ระงมไปด้วยเสียงของกบ เขียด





ความเชื่อ การแห่นางแมวภาคอิสาน
     
         พิธีแห่นางแมวของชาวอีสานเพราะเชื่อว่าเหตุที่ฝนไม่ตกมีเหตุผลหลายประการ เช่น เกิดจากดินฟ้าอากาศเปลี่ยนแปลง,ประชาชนชาวเมืองหย่อนในศีลธรรม, เจ้าเมืองหรือเจ้าแผ่นดิน ไม่ทรงอยู่ในทศพิธราชธรรม เป็นต้น ดังนั้น ถ้ามนุษย์อยากให้เทวะคือน้ำฝนที่ดีไม่ใช่ดีเปรสชั่น มาเยี่ยมตามกาลเวลา มนุษย์ก็ควรตั้งอยู่ในศีลในธรรม เพราะคนที่มีศีลมีธรรมท่านจึงเรียกว่า "เทวะ" ทั้งๆ ที่เป็นคน เพราะเหตุดังกล่าวมานี้ เทวะคือฝน กับเทวะคือคนผู้มีคุณธรรม ย่อมจะมาหากันเพราะเป็นเล่ากอแห่งเทวะด้วยกัน เหมือนพระย่อมไปพักกับพระเป็นต้น เหตุนี้ชาวเมือง ชาวอีสานจึงต้องทำพิธีอ้อนวอนขอฝน และการที่ต้องใช้แมวเป็นตัวประกอบสำคัญในการขอฝน เพราะเชื่อว่าแมวเป็นสัตว์ที่เกลียดฝน ถ้าฝนตกครั้งใดแมวจะร้องทันที ชาวอีสานจึงถือเอาเคล็ดที่แมวร้องในเวลาฝนตกว่า จะเป็นเหตุให้ฝนตกจริงๆ ชาวบ้านจึงร่วมมือกันสาดน้ำและทำให้แมวร้องมากที่สุดจึงจะเป็นผลดี และชาวอีสานเชื่อว่าหลังจากทำพิธีแห่นางแมวแล้วฝนจะตกลงมาตามคำอ้อนวอน และตามคำเซิ้งของนางแมว

           ชาวไทยโดยเฉพาะกลุ่มเกษตรกรที่จำเป็นต้องใช้น้ำในการเกษตรกรรมจะต้องนำนางแมว (แมวตัวเมีย) โดยคัดเลือกแมวไทยพันธุ์สีสวาด (คนไทยโบราณเรียก แมวมาเลศ ตามภาพ) ตัวที่มีรูปร่างปราดเปรียว สวยงามตั้งแต่ 1-3 ตัว นำนางแมวมาใส่กระบุงหรือตะกร้าหรือเข่งก็ได้ สาเหตุที่ต้องเลือกแมวพันธุ์นี้เพราะเชื่อว่า สีขนแมวเป็นสีเดียวกับเมฆ จะทำให้เกิดฝนตกได้ แต่บางแห่งก็ใช้แมวดำ
ก่อนที่จะนำนางแมวเข้ากระบุง คนที่เป็นผู้อาวุโสที่สุด จะพูดกับนางแมวว่า "นางแมวเอย …ขอฟ้าขอฝน ให้ตกลงมาด้วยนะ" พอหย่อนนางแมวลงกระบุงแล้ว ก็ยกกระบุงนั้นสอดคานหามหัวท้าย จะปิดหรือเปิดฝากระบุงก็ได้ แต่ถ้าปิดต้องให้นางแมวโดนน้ำกระเซ็นใส่ ตอนที่สาดน้ำด้วยจะต้องถูกต้องตามหลักประเพณี  ผู้หญิงที่เข้าร่วมในพิธีแห่ จะผัดหน้าขาว ทัดดอกไม้สดดอกโตๆ ขบวนแห่จะร้องรำทำเพลงที่สนุกสนานเฮฮา เมื่อขบวนแห่ถึงบ้านไหน แต่ละบ้านจะต้องออกมาต้อนรับอย่างเต็มที่ เพราะเกรงว่าแมวจะโกรธ และจะบันดาลไม่ให้ฝนตกลงมา และมีความเชื่อว่า ถ้าแห่นางแมวแล้วฝนจะตก ภายใน 3 วันหรือ 7 วัน นอกจากนี้ พิธีแห่นางแมวขอฝน จะเป็นการช่วยเรียกให้ฝนตกแล้ว ยังถือว่าพิธีนี้เป็นการสร้างความสัมพันธ์กับผู้คนในหมู่บ้านให้แน่นแฟ้นขึ้น เนื่องจากจะต้องมีการช่วยเหลือกันในการประกอบพิธีอีกด้วย



แห่นางแมว ภาคกลางแห่นางแมว ภาคกลาง


  ลักษณะความเชื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติช่วงเวลากรณีฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล เพราะสังคมไทยเป็นสังคมแบบเกษตรกรรม ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นปัจจัยในการเพาะปลูก สมัยก่อนไม่มีระบบการชลประทาน หรือทำฝนเทียมเช่นปัจจุบัน ตามความเชื่อดั้งเดิม " ฝน" เป็นสิ่งที่เบื้องบนประทานลงมา เมื่อใดฝนไม่ตกต้อง ตามฤดูกาล การเพาะปลูกพืชพันธุ์ก็ดำเนินไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องทำพิธี             "แห่นางแมว"

พิธีกรรม
พระยาอนุมานราชธน ปราชญ์คนสำคัญของไทย           ให้ข้อสังเกตว่า แมวเป็นสัตว์ไม่ชอบน้ำ โบราณจึงถือว่าเป็นตัวแล้ง เมื่อแมวถูกน้ำสาดเปียกปอน ก็จะหมดสภาพตัวแล้งไป ชาวบ้านคงถือเคล็ดตรงนี้ จึงมีพิธีแห่งนางแมวสืบต่อกันมา ชาวบ้านก็เชื่อว่าแมวเป็นสัญลักษณ์ของความแห้งแล้งเช่นกัน เมื่อแมวถูกสาดน้ำจะหายแล้ง จึงจับแมวตัวเมียมาใส่ "ตะข้อง" หรือ ชะลอม หรือเข่ง ตะกร้า สุดแต่จะหาได้ อาไม้คานสอดเข้าไปในตะข้อง แล้วพากันแห่ตระเวนไปทั่วหมู่บ้าน ในขบวนแห่มีคนตีกลอง ตีกรับ ตีฆ้อง หรือตีฉิ่ง และจะร่วมกันร้องเพลงแห่นางแมว โดยมีคำร้องสั้นๆ ง่ายๆแต่สัมผัสคล้องจองกันดังนี้

ประเพณีแห่นางแมวเป็นพิธีขอฝนของพวกชาวบ้าน โดยเฉพาะภาคกลาง ปีใดที่ฝนมาล่าหรือแล้งผิด ปกติ อันจะทำให้ชาวบ้านเดือดร้อน พืชในไร่นาให้ผลไม่เต็มที่ อาจถึงกับให้เกิดภาวะข้าวยากหมากแพงได้ ชาวบ้านก็จะชุมนุมปรึกษาหารือกันเพื่อทำพิธีแห่นางแมวตามที่ทำสืบเป็นประเพณี เพราะเชื่อว่าภายหลังเมื่อแห่นางแมวแล้ว ไม่ช้าฝนก็จะเทลงมา
ลักษณะความเชื่อ ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติช่วงเวลากรณีฝนแล้งไม่ตกต้องตามฤดูกาล เพราะสังคมไทยเป็นสังคมแบบเกษตรกรรม ต้องอาศัยน้ำฝนเป็นปัจจัยในการเพาะปลูก สมัยก่อนไม่มีระบบการชลประทาน หรือทำฝนเทียมเช่นปัจจุบัน ตามความเชื่อดั้งเดิม " ฝน" เป็นสิ่งที่เบื้องบนประทานลงมา เมื่อใดฝนไม่ตกต้อง ตามฤดูกาล การเพาะปลูกพืชพันธุ์ก็ดำเนินไปไม่ได้ ด้วยเหตุนี้จึงต้องทำพิธี "แห่นางแมว"

พิธีกรรม
พระยาอนุมานราชธน ปราชญ์คนสำคัญของไทย ให้ข้อสังเกตว่า แมวเป็นสัตว์ไม่ชอบน้ำ โบราณจึงถือว่าเป็นตัวแล้ง เมื่อแมวถูกน้ำสาดเปียกปอน ก็จะหมดสภาพตัวแล้งไป ชาวบ้านคงถือเคล็ดตรงนี้ จึงมีพิธีแห่งนางแมวสืบต่อกันมา ชาวบ้านก็เชื่อว่าแมวเป็นสัญลักษณ์ของความแห้งแล้งเช่นกัน เมื่อแมวถูกสาดน้ำจะหายแล้ง จึงจับแมวตัวเมียมาใส่ "ตะข้อง" หรือ ชะลอม หรือเข่ง ตะกร้า สุดแต่จะหาได้ อาไม้คานสอดเข้าไปในตะข้อง แล้วพากันแห่ตระเวนไปทั่วหมู่บ้าน ในขบวนแห่มีคนตีกลอง ตีกรับ ตีฆ้อง หรือตีฉิ่ง และจะร่วมกันร้องเพลงแห่นางแมว โดยมีคำร้องสั้นๆ ง่ายๆแต่สัมผัสคล้องจองกันดังนี้

"นางแมวเอย มาร้องแจ้วแจ้ว
นางแมวขอไก่ ขอไม่ได้ ร้องไห้ขอฝน
ขอน้ำมนต์รดแมวข้าที
มีแก้วนัยน์ตา ออกมาเดือนหก ฝนตกทุกที
มาปีนี้ไม่มีฝนเลย
พ่อตาลูกเขย นอนก่ายหน้าผาก
พ่อหม้ายลูกมาก มันยากเพราะข้าว
คนหนุ่มคนสาว คนเฒ่าหัวห้อย
พาเด็กน้อย มาเล่นนางแมว
มาร้องแจ้วฝนก็เทลงมา ฝนก็เทลงมา

              เมื่อเคลื่อนขบวนแห่ ต่างก็ร้องบทแห่นางแมว ซึ่งมีข้อความผิดเพี้ยนกันไปแล้วแต่ท้องถิ่น บางบทมี ถ้อยคำกระเดียดไปทางหยาบโลน เมื่อแห่ถึงบ้านใคร เจ้าของบ้านก็จะเอากระบวยตักน้ำสาดลงไปในชะลอมหรือตะกร้าที่ขังแมวอยู่ จากนั้นเจ้าของบ้านก็ให้รางวัลแก่พวกแห่ เป็นเหล้า ข้าวปลา ไข่ต้มหรือของกินอย่างอื่น ส่วนมากมักให้เงินเล็กน้อยแก่คนถือพานนำหน้ากระบวนแห่ เสร็จแล้วก็เคลื่อน ต่อไปยังบ้านอื่นๆ จนสุดเขตหมู่บ้าน แล้วก็กลับมาชุมนุมเลี้ยงดูกันเป็นที่ครึกครื้น พร้อมทั้งปล่อยแมวให้เป็นอิสระ ถ้าฝนยังไม่ตก ก็ต้องแห่ซ้ำในวันรุ่งขึ้นและวันต่อๆ ไปจนกว่าฝนจะตก
ซึ่งสรุปเนื้อหาโดยรวมคือ "ขอให้ฝนตก" เมื่อขบวนแห่ผ่านไปที่บ้านใด ก็จะร้องเชื้อเชิญให้ออกมาร่วมพิธี เจ้าของบ้านก็จะนำกระบวยตักน้ำในตุ่มหน้าบ้าน สาดไปใน "ตะข้องนางแมว"หรือตะข้องที่ใส่แมว เป็นประเพณีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินชีวิตของประชาชน และเกี่ยวข้องกับอาชีพเกษตรกรรมพิธีแห่นางแมวนี้ชาวบ้านเชื่อกันว่า จะทำให้ฝนตกและบรรเทาสภาวะแห้งแล้งไปได้






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น